ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์


ดร.วิเศษ แสงกาญจนวนิช

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์


    ข่าวและประกาศของเว็บ

    ฌาร์ค ลากอง มองว่า มนุษย์นั้นมีตัวตนในอุดมคติ (Ideal-I)

    โดย ดร.วิเศษ แสงกาญจนวนิช -

    ฌาร์ค ลากอง มองว่า มนุษย์นั้นมีตัวตนในอุดมคติ (Ideal-I) ซึ่งตัวตนนี้จะกลายเป็น "คนอื่น" ภายใต้ประสบการณ์ของเรา เพราะเราไม่เคยเป็นตัวตนในอุดมคติได้เลย จึงเกิดการแบ่งแยกตัวตนของตนเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งในตนได้ มีความแปลกแยกภายใน ผ่านการมีตัวตนอื่นเกิดขึ้น (other, autre) โดยที่มีการใช้ชีวิตในสังคมหรือการเรียนรู้ต่าง ๆ ยังมีสิ่งที่มีอยู่ก่อนตัวเรา เป็นความเป็นอื่น  (Other, Autre) ซึ่งมีผลกระทบต่อตัวเราอีกด้วย แนวคิดปรัชญาและจิตวิเคราะห์ของลากองนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ มากมาย

    #ปรัชญาสวนสุนันทา

    #ปรัชญาและจริยศาสตร์



    social capacity

    โดย ดร.วิเศษ แสงกาญจนวนิช -


    social capacity หมายถึง ความสามารถของสังคมใดสังคมหนึ่งหรือหน่วยของสังคม ที่จะการเรียนรู้ ปรับตัว รับมือ และเติบโตก้าวหน้า ภายใต้สภาวะที่มีเปลี่ยนแปลงอย่างจำเพาะเจาะจง เป็นส่วนสำคัญสำหรับแนวคิดเรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) โดยต้องมีการพูดคุยกันอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับ  ทุนทางสังคม (social capital)  ความสามารถทางสังคม (social capacity) และ  ขีดความสามารถในการรองรับทางสังคม (social carrying capacity)  ภายใต้หลักการของการดําเนินอย่างยั่งยืนด้าน  และจำเป็นทบทวนเชิงลึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมและทุนมนุษย์  

    #Kirtianschoolofthought

    #ปรัชญาสวนสุนันทา