ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์

ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาตร์

ข่าวและประกาศของเว็บ

ผู้ทรงปัญญาเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์และมีการตัดสินใจที่ดี เป็นผู้ชี้แนะหรือต้นแบบสำหรับผู้อื่น คำแนะนำและการชี้นำจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

ผู้ทรงปัญญาเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์และมีการตัดสินใจที่ดี เป็นผู้ชี้แนะหรือต้นแบบสำหรับผู้อื่น คำแนะนำและการชี้นำจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

ผู้ทรงปัญญามักเป็นผู้มีปัญญามาก่อน ผู้มีปัญญาคือ ผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ เรียนรู้และคิดได้ตามแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ ได้ มีศักยภาพคิดและตัดสินใจที่ดี

ผู้มีปัญญามักเป็นผู้เรียนมาก่อน มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากฉลาด สนใจในทุกสิ่ง สนใจในธรรมชาติของตนและธรรมชาติภายนอกทั้งหลาย สนใจความเป็นจริงของสรรพสิ่ง

ผู้เรียนมักเป็นผู้ไม่รู้มาก่อน มีความไม่รู้จึงแสวงหาการพัฒนาตนด้วยความรู้ 

...ทบทวนตนเองว่าเราเป็น...อย่างไร

e5ec06e112ed06eda52cbc61cae5f12bb2996c8f.jpg


#ปรัชญาและจริยศาสตร์ #ปรัชญาสวนสุนันทา #มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา


Vax or Vaccine เป็นคำที่ถูกค้นหาเป็นอันดับ 1 ของปี 2021

Vax or Vaccine เป็นคำที่ถูกค้นหาเป็นอันดับ 1 ของปี 2021 และเป็นสิ่งที่ทำให้คนทั้งสนใจ ทั้งสงสัย และมีความอยากรู้อยากเห็นกับเรื่องของวัคซีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประสิทธิภาพของการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัส โดยเชื่อว่าจะป้องกันการติดเชื้อหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ ซึ่งพึงคิดสำหรับปี 2022 คือ อะไรจะเป็น vax ของชีวิตมนุษย์ในฐานะมนุษย์ มิใช่เพียงแค่ในฐานะร่างกาย (body, corpse) จะเป็นความรู้ปรัชญา การคิดอย่างปรัชญา หรือ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม หรืออื่น ๆ ก็น่าจะสนใจที่จะย้อนมองกันให้ละเอียดต่อไป

#ปรัชญาสวนสุนันทา

#ปรัชญาและจริยศาสตร์

#philosophy_and_ethics

#Kirtianschoolofthought

#มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา



กระแสนวยุคนิยมส่งเสริมมนุษยนิยม

โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ -

ก

กระแสนวยุคนิยมส่งเสริมมนุษยนิยม เน้นการสนับสนุนหลักการใช้ชีวิตของมนุษย์และมีอิทธิพลต่อนักคิดในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะในนิกายมหายาน จนได้พุทธศาสนาเชิงมนุษยนิยม โดยท่าน ไทซู (Taixu, 1890-1947) ได้ปฏิรูปคำสอนให้เน้น Human และ life นั่นคือ ให้ความสำคัญกับคำสอนสำหรับ human world และมองว่าพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับโลกหน้า และ การทำให้เป็นเทพ (deification) ล้วนไม่เหมาะสมกับยุคสมัย คำสอนเน้นให้ปฏิบัติตนตามอย่างพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี โดยมีหลัก 6 ประการ ได้แก่

  1. การมีมนุษยธรรม (humanity)
  2. การเห็นแก่ผู้อื่น (altruism)
  3. การฝึกฝนทางจิตในชีวิตประจำวัน (spiritual practices)
  4. การมีชีวิตที่มีความสุข (joyfulness)
  5. การอยู่กับปัจจุบัน (timeliness)
  6. การรักษ์สรรพสิ่ง (the universality of saving all beings)

กระแสพุทธศาสนาเชิงมนุษยนิยมนี้ได้วิพากษ์พุทธศาสนารูปแบบดั้งเดิม (ritual Buddhism) และส่งเสริมกิจกรรมของพระในด้านมนุษยนิยม เช่น การช่วยเหลือผู้ยากไร้ การสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น

กระแสคิดนี้สอดคล้องไปกับการตีความอย่างหลังนวยุคในปัจจุบัน แต่ก็เกิดภาวะสุดขั้วในการยอมรับของแต่ละฝ่ายได้ จึงน่าจะลองพิจารณาหลักการประนีประนอม (compromise) เพื่อความเป็นหลากหลายที่อยู่ร่วมกันเป็นเอกภาพ (diversity in unity) น่าจะเป็นจุดถ่วงดุล (fulcrum) สำหรับฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายอนุรักษ์นิยมในศาสนาซึ่งต้องผ่านการสังสรรค์วิวาทะกันต่อไปจนกว่าจะถึงจุดที่ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้



“การเปรียบเทียบ” เป็นเรื่องที่มนุษย์กระทำด้วยตนเองในทุกสิ่ง

โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ -

“การเปรียบเทียบ” เป็นเรื่องที่มนุษย์กระทำด้วยตนเองในทุกสิ่ง จึงต้องพบเจอกันตลอดช่วงชีวิต มีการนำบรรทัดฐานตามเกณฑ์ต่าง ๆ มาชี้วัด โดยนำ 2 สิ่งที่วางเทียบกันพิจารณาความเท่ากัน เสมอกัน แต่หากหมกหมุ่นเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาสูงต่ำ เหลื่อมล้ำ ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ใจ (suffering) มิใช่ความเข้าใจ (comprehension) ก็จะทำให้มองว่าตนต่ำกว่าหรือสูงกว่าคนอื่นและต้องปรับปรุงรูปแบบการใช้ชีวิตไปตามที่ตนคิดว่าเป็น "การพัฒนา" 

ภาวะการเปรียบเทียบเช่นนี้ถูกกระตุ้นยิ่งขึ้นด้วยอิทธิพลของโลกแห่งสรรพสิ่ง (IoT) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโซเชียลมีเดียหรือโลกเสมือนจริงที่สร้างรูปแบบความสัมพันธ์ได้ในทุกที่ทุกเวลา ทำให้เราเพลิดเพลินกับการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และข้อมูลใหม่ๆจากผู้คนมากมายบนโลกออนไลน์ และนำไปสู่การเปรียบเทียบยิ่งไปกว่าเดิม เป็นภาวะที่ล้อมกรอบเราไว้ตลอดเวลาจนเกิด "โลกแห่งการเปรียบเทียบ"

#ปรัชญาสวนสุนันทา

#ปรัชญาและจริยศาสตร์

#philosophy_and_ethics

#Kirtianschoolofthought